สะตวง สืบชะตา
คลังบทความ

สะตวง สืบชะตา

 

การมีชีวิตที่ยืนยาว ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย ล้วนเป็นความปรารถนาของมนุษย์ การร้องขอต่ออำนาจเหนือธรรมชาติให้ช่วยดลบันดาลก็เป็นวิธีหนึ่งที่สร้างความมั่นคงทางจิตใจ ดังเช่น “พิธีสืบชะตา” อันเป็นพิธีกรรมความเชื่อที่สืบทอดกันมาช้านานในท้องถิ่นภาคเหนือ

 

ภาพถ่าย ‘สะตวง’ หรือกระทง วางไว้ที่โคนต้นโพธิ์ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่

บันทึกไว้โดยกองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ เมื่อปี 2519 

 

สะตวง ทำจากกาบกล้วย ภายในบรรจุเครื่องเซ่นสังเวย มีบุหรี่ เมี่ยง หมากพลู อาหาร กล้วยสุกหั่นเป็นชิ้น ดอกไม้ ปักธงและธูป พร้อมกับสายสิญจน์ ภายหลังจากทำพิธีสืบชะตาที่บ้านแล้ว จะนำสะตวงมาวางไว้ที่โค้นต้นไม้ใหญ่ พร้อมกับเครื่องประดับพิธีอื่นๆ เช่น ไม้ค้ำโพธิ์ เป็นต้น ดร. ไพโรจน์ พงษ์พิพัฒน์ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า สะตวงที่บรรจุเครื่องสังเวยเช่นนี้นั้น ใช้ในหลายโอกาสดังนี้

  1. การสืบชะตา ผู้ที่มีเคราะห์หรือผู้สูงอายุ โดยทำกระโจมด้วยไม้ 3 ท่อน ปลายไม้เป็นง่าม ที่โคนไม้แต่ละท่อนจะวางสะตวงไว้ ผู้สืบชะตาจะเข้าไปนั่งอยู่ภายในกระโจม เมื่อเสร็จพิธีแล้วจะนำสะตวงไปวางไว้ตามต้นไม้ใหญ่ ส่วนไม้ง่ามนั้นนำไปค้ำกับต้นไม้ใหญ่ที่เป็นไม้มงคล เช่น ต้นสะหรีหรือต้นโพธิ์ 

  2. การสู่ถอนวิญญาณ เชื่อกันว่าที่ใดมีคนตาย จะต้องนำสะตวงไปทำการสู่ถอน เพื่อให้ดวงวิญญาณไปผุดไปเกิด  

  3. บ้างว่าใช้ในการแก้บนก็ได้ 

 

อ่านบทความฉบับเต็ม ในคอลัมน์ปุจฉวิสัชน์ โดยกองบรรณาธิการ ตีพิมพ์ในวารสารเมืองโบราณ ฉบับที่ 4 ปีที่ 4 กรกฎาคม-กันยายน 2521

คลิก https://www.yumpu.com/xx/document/view/67660308/-4-4

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

พิธีสืบชาตา” คลิก https://&host/post/10MBJ-1  


กองบรรณาธิการ

"วารสารเมืองโบราณ" นิยามไทย เข้าใจถิ่น